ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่บล็อกที่ให้ความรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่บล็อกที่ให้ความรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการและการดูแลสวนปาล์มน้ำมัน ครับ เนื้อหาจะพูดกันตรงๆ ไม่มีเรื่องการค้าแอบแฝงครับ แม้เจ้าของบล็อกจะทำงานในบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันก็ตาม

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

เมื่อจะปลูกปาล์มน้ำมัน คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมันกันมาก ในปัจจุบันหากหาข้อมูลกันมาบ้างแล้วแน่นอนว่าทุกคนมุ่งหาพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมDxP(อ่านว่า : "ดีคูณพี" ครับ) หรือ เทเนอรา กัน แล้วแต่ว่าจะได้ยี่ห้อะไรกันมา เมื่อปลูกเสร็จก็แล้วกัน บางคนตั้งแต่ก่อนปลูกจนกระทั่งปลูกเสร็จไม่เคยเข้าสวนปาล์มตัวเองเลยสักครั้งด้วยซ้ำ ลองคิดดูแล้วกันว่าจะเอาดีได้หรือไม่

ความจริงการจัดการหรือการดูแลสวนปาล์มน้ำมันนั้นมันเริ่มตั้งแต่ก่อนปลูกแล้วละครับ
1. ปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน พูดหยาบๆ คือ ทำไงก็ได้ให้ระดับน้ำต่ำกว่าระดับผิวดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ไม่ควรเกิน 1 เมตร
2. รู้ระยะปลูกที่เหมาะสม ทุกวันนี้แนะนำกันตะพึดตะพือ คือ 9 เมตร ซ้ำยังมีหลายเห่งที่แนะนำระยะปลูกน้อยกว่า 9 เมตรด้วยซ้ำ เท่าที่สำรวจแปลงปลูกปาล์มน้ำมันมากว่า 10 ปี ในหลายจังหวัด พบว่ามีปัญหาทุกพันธุ์ เพราะระยะปลูกน้อยเกินไป ทำให้ทางใบสานกันแ่น ต้นปาล์มสูงเร็วมากและให้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ แม้กระทั่งปาล์มทางสั้นที่แนะนำให้ปลูกระยะ 9 เมตร ก็มีปัญหา ใครสนใจผมสามารถพาไปดูได้ถึงแปลงปลูก ไม่ใช่พูดกันแต่เขาว่า เขาว่า อย่าลืมว่าปาล์มน้ำมันจะเจริญเติบโตเต็มที่ คือ ทางใบยาวเต็มที่ ทะลายใหญ่เต์มที่อย่างเร็วคือปลูกไปแล้ว 6 ปี ปัญหาว่าปลูกไป 4 ปีแรก ทางใบมันจะดูสั้นๆ ทุกพันธุ์ละครับกว่าจะรู้ตัวว่าปลูกชิด อย่างเร็ว คือ ปีที่ 6 แต่ถ้าเจ้าของไม่เอาใจใส่ก็ไม่มีทางรู้เลย จนกว่าจะถึงปีที่ 9 หรือ 10 ที่แทบจะไม่มีีทะลายให้เชยชม นี่คือความเป็นจริงในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง เพราะขายกันแล้วก็แล้วกัน ไม่ได้ตามไปดูในแปลงปลูกให้ จึงแนะนำว่าควรปลูกระยะ 10 เมตร หากดินดีอาจต้องใช้ระยะห่างมากกว่านี้ สูงสุดทีี่เคยเห็นคนกระบี่ปลูกกันคือ 13 เมตร ครับ อ้อ ปลูกแล้วไม่ต้องกังวลนะครับ ผมเทียบจากพันธุ์หนองเป็ดเทเนอรา ปลูกระยะ 9 เมตร เทียบกับกับระยะ 10 เมตร สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน ดูแลดีด้วยกัน เมื่ออายุปาล์ม 6 ปีขึ้นไป เนื้อที่ปลูกเท่ากันตัดผลผลิตได้เท่ากันครับ แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ระยะ 10 เมตร ใส่ปุ๋ยต่่อไร่น้อยกว่า ดูแลต้นน้อยกว่า แต่งทางน้อยกว่า และต้นปาล์มเมื่ออายุ 10 ปีนับจากวันลงปลูก มีส่วนสูงต่างกัน ประมาณ 1 - 1.5 เมตร ครับ นั่นแปลว่าแปลงที่ปลูกระยะ 9 เมตร ต้องโค่นก่อนแน่นอน
3. ปรับสภาพดินด้วยครับ ด้วยการใช้ปุ๋ยคอก เช่น มูลโค มูลไก่ มูลสุกร เป็นต้น หรือ ปุ๋ยหมัก หากต้องต้องซื้อตีว่ากิโลละไม่เกิน 8 บาท นี่ราคาพอรับได้ครับ ต้องปรับสภาพดินทุกปีครับ ส่วนธาตุอาหารหลัก ยังคงต้องพึ่งปุ๋ยเคมีเป็นหลักครับ เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ออกลูกมากเพราะเราทำกันเชิงอุตสาหกรรม ใครคิดจะใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกล้วนๆ ต้องใส่ต้นละประมาณ 1 ตัน/ปี ครับ จึงจะเพียงพอ คิดดูแล้วกันครับว่าต้นทุนจะสูงขนาดไหน
4. ใส่ปุ๋ยให้ถูกต้อง ตั้งแต่ถูกส่วน ถูกเวลา ถูกที่ หลักพื้นฐานคือ แบ่งใส่น้อยแต่ใส่บ่อยๆ จะดีกว่านานๆ ใส่แต่ใส่หนักๆ ครับ
- ถูกที่ การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องสำหรับปาล์มน้ำมัน คือ แรกปลูกใส่ห่างจากโคนประมาณ 1 คืบ เมื่อแตกพุ่มแล้ว ให้ใส่ราวๆ 1 ใน 3 จากปลายใบเข้าไป ไม่ว่าจะปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ครับ เพราะนั่นเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ยกเว้นปุ๋ยโบเรต หรือ โบรอน ให้ใส่ที่ปลายใบครับ อย่าใส่ที่โคน หรือกาบใบเป็นอันขาด
- ถูกเวลา คือ ช่วงแล้ง หรือ ฝนตกหนัก ก่อนน้ำท่วมราว 2 เดือน ห้ามใส่ปุ๋ยเด็ดขาด ต้องใส่ช่วงที่ดินมีความชื้นพอสมควร มีฝนตกประราย
-ถูกส่วน ต้นไม้ทุกชนิดธาตุหลักที่เราต้องใส่ให้คือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโพแทสเซียม(K) โดยพืชแต่ละชนิดต้องการในสัดส่วนของ N:P:K ที่ไม่เท่ากัน สำหรับปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วต้องได้สัดส่วนประมาณ 2:1:4 ถึง 3:1:7 ขึ้นกับสภาพแวดล้อมครับ
5. การแต่งทางใบ จำง่ายๆ ว่า ปลูกไปอย่างน้อย 36 เดือน จึงจะเริ่มแต่งทางใบได้ หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือ ทะลายล่างสุดต้องมีทางเหลืออยู่ 2 ชั้น ภาษาสวนปาล์มเขาเรียก ทางเลี้ยง(ทางใบที่ติดกับทะลายป กับทางรับ ครับ ถ้าแต่งมากว่านี้ปาล์มจะโทรม นอกจากปาล์มที่ใช้เคียวแล้วเท่านั้นครับ จึงจะดแต่งเหลือแค่ทางเลี้ยงอย่างเดียว
6. อย่าใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึมเด็ดขาดครับ ต้นปาล์มจะชะงักการเจริญเติบโต

โปรดระลึกเสมอว่า การจัดการและการดูแลมีความสำคัญถึงร้อยละ 80 ทีเดียวครับ จะทำให้ดี หรือเลวสุดๆ ก็ยังได้ อย่าเชื่อคำโฆษณาครับ ผลงานในแปลงปลูกเป็นตัวประจานเจ้าของและพันธุ์ปาล์มครับ

ยังมีเรื่องปลีกย่อยอีกมากครับ มีข้อสงสัยปรึกษาเราได้ครับทีมงาน บริษัท เปา-รงค์ ออยล์ปาล์ม จำกัด อีเมล์ตรงๆ ได้ที่ nhongped@gmail.com ยินดีรับใช้ ไม่คิดตังค์ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น